Skip to content

ธันวาคม 16, 2024

สวทช. ร่วมจุฬาฯ พัฒนา ‘แบตเตอรี่สังกะสีชนิดอัดประจุซ้ำได้ (Zinc-ion Battery)’ จากถ่านไฟฉายใช้แล้วและขยะทางการเกษตร

  • เขียนโดย

กรุงเทพมหานครมีปริมาณขยะถ่านไฟฉายธรรมดา (zinc carbon battery) และประเภทแอลคาไล (alkaline battery) ซึ่งเป็นถ่านชนิดปฐมภูมิหรือไม่สามารถอัดประจุซ้ำเพื่อใช้งานใหม่ได้ มากถึง 5 ตันต่อเดือน แต่โดยทั่วไปแล้วทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมีการรีไซเคิลส่วนประกอบของถ่านทั้ง 2 ชนิดมาใช้ประโยชน์แค่เฉพาะส่วนห่อหุ้มแบตเตอรี่ (packaging) ที่เป็นอะลูมิเนียมและสเตนเลสเท่านั้น การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการรีไซเคิลวัสดุส่วนประกอบอื่น ๆ ภายในแบตเตอรี่ เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างคุ้มค่าแก่การลงทุนจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยลดทั้งการใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติและการทำลายสิ่งแวดล้อม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม… Read More »สวทช. ร่วมจุฬาฯ พัฒนา ‘แบตเตอรี่สังกะสีชนิดอัดประจุซ้ำได้ (Zinc-ion Battery)’ จากถ่านไฟฉายใช้แล้วและขยะทางการเกษตร

3 สัญญาณเตือน แบตเตอรี่กำลังเสื่อม

  • เขียนโดย

แบตเตอรี่ก็เหมือนกับร่างกายของคนเราที่มีวันเสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา ส่วนจะเสื่อมเร็ว เสื่อมช้า เสื่อมน้อย เสื่อมมาก ถ้าสังเกตดูเราก็จะเห็นสัญญาณบางอย่างที่บอกให้รู้ว่า แบตเตอรี่ของเราไม่ทรงพลังเหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว สัญญาณแรกที่อาจสังเกตได้คือ จำนวนชั่วโมงการใช้งานลดลง เมื่อแบตเตอรี่เสื่อม พลังงานของแบตเตอรี่ที่ใช้ได้ต่อการชาร์จเต็มจะลดลงจากปกติ เนื่องจากความสามารถในการกักเก็บและจ่ายพลังงานไฟฟ้า หรือที่เรียกกันว่า ความจุของแบตเตอรี่น้อยลง เช่น ปกติเราชาร์จแบตเตอรี่พัดลมมือถือเต็มแล้วใช้งานได้ต่อเนื่อง 5 ชั่วโมงกว่าแบตเตอรี่จะหมด แต่พอแบตเตอรี่เสื่อมจะใช้งานได้น้อยกว่า 5 ชั่วโมง สัญญาณที่สองคือ ความร้อนของแบตเตอรี่สูงขึ้น เมื่อแบตเตอรี่เสื่อม ความต้านทานภายในตัวแบตเตอรี่จะสูงขึ้น… Read More »3 สัญญาณเตือน แบตเตอรี่กำลังเสื่อม

thTH